วันอาสาฬหบูชา

       วันอาสาฬหบูชา 2566 ในปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ 1 สิงหาคม ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามจันทรคติ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมจากการตรัสรู้ให้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ณ มฤคทายวัน เมืองพาราณสี ในปี 2566 นี้ คณะรัฐมนตรีประกาศให้วันที่ 31 กรกฎาคม เป็นวันหยุดพิเศษ เพราะฉะนั้นช่วงวันอาสาฬหบูชา 2566 จึงเป็นวันหยุดยาว 6 วัน ตามประกาศราชการ

       เช้าวันที่ 27 กรกฎาคม ผู้อำนวยการโรงเรียน นายหัตถชัย หล้าคำมูล และคณะบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านวังยาว ถวายสังฆทาน ให้ทาน
ฟังธรรมเทศนา และถวายเวียนเทียน แก่ วัดบำเพ็ญบุญ พร้อมนักเรียนโรงเรียนบ้านวังยาว

       วันอาสาฬหบูชา 2566 ในปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ 1 สิงหาคม ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามจันทรคติ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมจากการตรัสรู้ให้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ณ มฤคทายวัน เมืองพาราณสี ในปี 2566 นี้ คณะรัฐมนตรีประกาศให้วันที่ 31 กรกฎาคม เป็นวันหยุดพิเศษ เพราะฉะนั้นช่วงวันอาสาฬหบูชา 2566 จึงเป็นวันหยุดยาว 6 วัน ตามประกาศราชการ

       ประวัติวันอาสาฬหบูชา มีความเป็นมาอย่างไร
หลังจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันวิสาขบูชา ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้ฟังปฐมเทศนาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนกระทั่งโกณฑัญญะได้บรรลุดวงตาเห็นธรรมเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน จึงได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า นับได้ว่า “วันอาสาฬหบูชา” เป็นวันแรกที่มีพระภิกษุเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา

       ในประเทศไทยเพิ่งเริ่มมีพิธีกรรมในวันอาสาฬหบูชาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2501 ตามประกาศของสังฆมนตรี ที่ได้กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญในศาสนาพุทธ ออกประกาศในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2501 นับตั้งแต่วันนั้นพุทธศาสนิกชนในประเทศไทยก็กำหนดพิธีขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา

ความสําคัญวันอาสาฬหบูชา
     1. พระพุทธเจ้าแสดงธรรมจากการตรัสรู้ครั้งแรก เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5

     2. ปัญจวัคคีย์ขอบวชเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย จึงเกิดพิธีการบวชครั้งแรกโดยพระพุทธเจ้ากระทำให้ เรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”

     3. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าประกาศ “ศาสนาพุทธ”

     4. ถือว่าวันนี้เป็นวันที่พระรัตนตรัยเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์